กรดอะซิติกในชีวิตประจำวัน

กรดอะซิติกในชีวิตประจำวัน

กรดอะซิติกที่ใช้ในการผลิตยา วิตามินและการแปรรูปอาหาร

กรดอะซิติกในชีวิตประจำวัน

กรดอะซิติก (Acetic Acid) เป็นของเหลว ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ส่วนใหญ่นำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตของใช้ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง เช่น อาหาร, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด, เครื่องสำอางและยา แต่อย่างไรก็ดี เมื่อทราบถึงข้อดีของสารเคมีชนิดนี้แล้ว ก็ควรทราบข้อเสียและวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้ที่ต้องสัมผัสกับเคมีภัณฑ์ชนิดนี้ในทุกๆ วัน

ทำความรู้จักกับกรดอะซิติก

Acetic Acid บางครั้งถูกเรียกว่ากรดน้ำส้มหรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่ากรดเอทาโนอิก (Ethanoic Acid) เพราะมีกลิ่นฉุนคล้ายกับน้ำส้มสายชู เป็นของเหลวที่เป็นกรด ไม่มีสี และสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรทางเคมี CH3COOH (เขียนเป็น CH3CO2H, C2H4O2 หรือ HC2H3O2) นี้สามารถผลิตได้จากธรรมชาติคือการหมักการหมักแอลกอฮอล์, มันฝรั่ง, แอปเปิ้ล, องุ่น, เบอร์รี่, ธัญพืชและการกลั่นไม้ เมื่อมีความเข้มข้น 99.5% จะเรียกว่า กรดอะซิติก น้ำแข็ง ซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบและตัวทำละลายในการผลิตน้ำมันและก๊าซ นอกจากนี้ก็ยังสามารถนำมาผสมผสานกับสารต่างๆ ก็สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันดังที่เราได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น โดยวิธีหนึ่งที่ผู้บริโภคอาจสัมผัสกับกรดชนิดนี้มากที่สุดก็คือน้ำส้มสายชู จากการผสมAcetic Acid 5% และน้ำอีก 95%

โดยความต้องการของ กรดอะซิติก ทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 6.5 ล้านตันต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ได้มาจากการรีไซเคิลประมาณ 1.5 ตันต่อปี ส่วนที่เหลือได้จากการผลิตจากเมทานอล การใช้งานทางอุตสาหกรรมของกรดชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นผ่านกระบวนการคาร์บอนิลเลชั่น (Carbonylation) ของเมธานอล เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารประกอบต่างๆ เช่น การผลิตไวนิลอะซิเตต (Vinyl Acetate) ใช้เป็นตัวทำละลายในการละลายน้ำมัน, ซัลเฟอร์และไอโอดีน เพื่อทำให้น้ำมันและก๊าซเป็นกรด รวมถึงการผลิตยา วิตามิน และการแปรรูปอาหารด้วย

กรดอะซิติก ในอุตสาหกรรมต่างๆ

ในอุตสาหกรรม Acetic Acid ถูกนำมาใช้ในการเตรียมโลหะอะซิเตต (Acetate) ซึ่งใช้ในกระบวนการพิมพ์บางอย่าง, ไวนิลอะซิเตตใช้ในการผลิตพลาสติก, เซลลูโลสอะซิเตตใช้ในการผลิตฟิล์มถ่ายภาพและสิ่งทอ หรือเอสเทอร์อินทรีย์ระเหยง่าย (เช่น เอทิลและบิวทิลอะซิเตต) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นตัวทำละลายสำหรับเรซิน สีและแลกเกอร์ ปัจจุบันกรด Acetic ถูกผลิตโดยกระบวนการที่พัฒนาแล้วจากบริษัท มอนซานโต้ ( Monsanto Company) ที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ด้านเกษตรเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรข้ามชาติ มีสำนักงานใหญ่ในคลีฟคัวร์ เกรตเตอร์เซนต์ลุยส์ รัฐมิสซูรี ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนี้

  1. อุตสาหกรรมอาหาร : การใช้งาน กรดอะซิติก สำหรับอุตสาหกรรมอาหารในฐานะน้ำส้มสายชูเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอาหารทั่วไป เช่น น้ำสลัดวิเนเกรต น้ำหมัก และน้ำสลัดอื่นๆ น้ำส้มสายชูยังสามารถใช้ในการเตรียมอาหารเพื่อช่วยควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella ในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก นอกจากนั้น น้ำส้มสายชูยังใช้เป็นสารดูดความชื้น เมื่อกรดชนิดนี้ผสมกับน้ำจะมีปริมาตรลดลงอย่างมากจนได้ Acetic Acid 100% เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิต่ำจะเกิดการตกผลึกและก่อตัวเป็นผลึกคล้ายน้ำแข็งที่ด้านบนได้

    นอกจากนั้น กรดอะซิติก มักใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในโรงงานอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร หรือการผสมกับเกลือโซเดียมจะได้เป็นสารกันบูดในอาหารอีกด้วย แต่ในอุตสาหกรรมอาหาร Acetic Acid นั้นถูกควบคุมโดยรหัสวัตถุเจือปนอาหาร E260 เพื่อเป็นตัวควบคุมความเป็นกรดและเป็นเครื่องปรุงรส

    Did you know? : น้ำส้มสายชู เป็นที่รู้จักกันในช่วงต้นของอารยธรรมก่อนคริสต์ศักราช ที่เกิดจากธรรมชาติโดยการหมักเบียร์และไวน์ โดยแบคทีเรียที่เกิดขึ้นทำให้มีการผลิต กรดอะซิติก ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ โดยศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช มีนักปรัชญาชาวกรีก ธีโอฟรัสตุส บรรยายว่าน้ำส้มสายชูออกฤทธิ์กับโลหะเพื่อผลิตเม็ดสีที่มีประโยชน์ในงานศิลปะได้

  2. อุตสาหกรรมยา : เนื่องจาก Acetic Acid เข้มข้นถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ โดยการนำมาเจือจางร่วมกับสารประกอบอื่น ได้แก่ โพรไพลีน ไกลคอล (Propylene glycol), อะลูมิเนียม อะซิเตรท (Aluminium acetate), กรดบอริก (Boric acid), โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide), สารละลายอะลูมิเนียมซัลเฟต (Aluminium sulfate), แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate ) หรือน้ำบริสุทธิ์ สารประกอบหรือสารละลายเหล่านี้ ใช้เป็นส่วนผสมกับ กรดอะซิติก เพื่อใช้เป็นยาหยอดหูในการยับยั้งการเติบโตของเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหูอักเสบ นอกจากนั้น กรดชนิดนี้ยังมีคุณสมบัติในรักษาความดันโลหิตให้คงที่และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีการใช้ในอาหารเสริมและยาบางชนิด รวมถึงยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

  3. อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล : กรดอะซิติก มีคุณสมบัติในการควบคุมค่า pH ของเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล เช่น ครีมนวดผม แชมพู และสามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หรือน้ำยาระงับกลิ่นปาก ส่วนในเครื่องสำอางนั้น บางครั้ง Acetic Acid ถูกใช้เป็นตัวควบคุมกลิ่นให้เกิดความสมดุลระหว่างกลิ่นหอมต่างๆ นอกจากนั้นในรูปแบบของน้ำส้มสายชู ยังได้รับการยกย่องในเรื่องของการขัดผิวให้นุ่มนวลได้ เพราะช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกได้อย่างง่ายดาย และยังช่วยควบคุมความมันได้อีกด้วย สิ่งที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือ กรดอะซิติก ยังสามารถช่วยบำรุงและปกป้องเส้นผมได้เป็นอย่างดีช่วยมอบความแวววาวและความมีชีวิตชีวาที่โดดเด่นให้กับเส้นผม เมื่อผสมอยู่ในแชมพูหรือครีมนวดผม

  4. อุตสาหกรรมสิ่งทอและพลาสติก : Acetic Acid ถูกใช้เป็นหลักในการผลิตโพลีไวนิลอะซิเตต (Poly Vinyl Acetate) ซึ่งเป็นโพลีเมอร์ที่ใช้ในสี กาว พลาสติก, สารเคลือบสิ่งทอ และการผลิตเส้นใยและผ้าสังเคราะห์ที่ใช้ในครัวเรือน อีกทั้งยังใช้ในการย้อมผ้า นอกจากนั้น กรดอะซิติก ยังใช้ในปฏิกิริยาเคมีเพื่อผลิตกรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์ (PTA) ซึ่งใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติก PET ที่ใช้ในเส้นใยสังเคราะห์ ภาชนะบรรจุอาหาร ขวดเครื่องดื่มและฟิล์มพลาสติก

  5. อุตสาหกรรมผลิตน้ำมันและก๊าซ : กรด Acetic ถูกใช้เป็นตัวทำละลายที่ชอบน้ำคล้ายกับเอทานอล สามารถนำไปละลายกับสารประกอบต่างๆ เช่น น้ำมัน ซัลเฟอร์และไอโอดีน หรือผสมกับน้ำ, คลอโรฟอร์มและเฮกเซน เพื่อนำไปใช้ทำให้น้ำมันและก๊าซเป็นกรด เพราะ กรดอะซิติก สามารถช่วยลดการกัดกร่อนของโลหะและการสะสมตะกรัน จึงนิยมนำมาใช้งานในบ่อน้ำมันและก๊าซ เพื่อกระตุ้นบ่อน้ำมันให้มีการปรับปรุงการไหลและเพิ่มการผลิตน้ำมันและก๊าซได้อีกด้วย


ข้อมูลด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับกรดอะซิติก

น้ำส้มสายชูแบบ Food Grade ที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารอเนกประสงค์ โดยทั่วไปได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) แต่ก็เช่นเดียวกับกรดอื่นๆ หากมีการบริโภคน้ำส้มสายชูมากเกินไปอาจทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินอาหารส่วนบนแย่ลงได้ เช่น อาการเสียดท้องหรือไม่ย่อย นอกจากนั้นการบริโภคน้ำส้มสายชูมากเกินไปอาจทำให้เคลือบฟันเสียหายได้

การสัมผัสกับ กรดอะซิติก น้ำแข็งซึ่งเป็นกรดในรูปแบบบริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นจากการสูดดมและการสัมผัสทางผิวหนังหรือดวงตา กรดชนิดนี้สามารถกัดกร่อนผิวหนังและดวงตาอาจทำให้เกิดการระคายเคืองตา จมูก และลำคอได้ โดยสำนักงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OSHA) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการสัมผัสกับกรดอะซิติกเอาไว้อยู่ที่ 10 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ในช่วงการทำงาน 8 ชั่วโมง หากสัมผัสหรือสูดดม Acetic Acid ในปริมาณ100 ppm อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อปอดและความเสียหายต่อปอด ดวงตาและผิวหนังได้ ฉะนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ Acetic Acid ที่มีความเข้มข้นสูง

และนี่คือทั้งหมดเกี่ยวกับ กรดอะซิติก ที่ในชีวิตประจำวันของเรานั้นอาจได้สัมผัสกับกรดชนิดนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อม หากคุณกำลังมองหา Acetic Acid เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมของคุณ แต่อยากได้จากแหล่งที่เชื่อถือได้และมีคุณภาพสูง บริษัท อาร์ เอช เค กรุ๊ป จำกัด นั้น มีเคมีภัณฑ์คุณภาพสูงที่ผลิตขึ้นตรงตามมาตรฐานเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมมากมาย นอกจากนั้น เรายังเป็นผู้ผลิตน้ำกลั่น (DI Water) และจำหน่ายสารเคมี เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศ, ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า และการให้บริการที่ตรงต่อเวลา

 


ติดต่อสอบถามข้อมูล กรดอะซิติก หรือสั่งซื้อสินค้า

https://www.rhkchemical.com/
โทร : 02-394-0222
Line id : @rhkgroup
อีเมล: rhkgroup@hotmail.com, mktg@rhkchemical.com