ระบบ Reverse Osmosis หรือระบบ น้ำ RO ที่ช่วยกรองสิ่งแปลกปลอมและปนเปื้อนที่มากับน้ำดิบจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ให้มีความสะอาดและปลอดภัยสำหรับการอุปโภคบริโภคมากขึ้น แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งของการใช้ระบบ Reverse Osmosis ก็คือการสูญเสียน้ำจำนวนมากจากกระบวนการคัดแยกน้ำดีออกจากน้ำที่สกปรกปนเปื้อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอัตราของน้ำทิ้ง RO พบว่าการกรองได้น้ำสะอาดมีปริมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนน้ำทิ้งนั้นมีปริมาณมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์และต้องทิ้งน้ำเหล่านั้นไปอย่างน่าเสียดาย แต่ความจริงแล้ว
แม้ว่าน้ำทิ้งจากระบบ น้ำ RO จะไม่สามารถนำมาบริโภคหรือทำความสะอาดร่างกายหรือสิ่งของได้ แต่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ เช่น
- ใช้รดน้ำต้นไม้ : รู้หรือไม่ว่าพืชและต้นไม้ต่างๆ สามารถเติบโตได้ง่ายด้วยน้ำที่มีค่า TDS ของน้ำสูงได้ (ค่า TDS คือ Total dissolved solids) โดยน้ำที่มีค่า TDS สูง หมายถึงน้ำนั้นมีแร่ธาตุปะปนอยู่ เช่น แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และโซเดียม (Na) ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าความกระด้าง ซึ่งน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการทำ น้ำ RO แล้ว สามารถนำมารดน้ำต้นไม้และยังมีส่วนช่วยให้พืชมีอายุยืนยาวและการเจริญเติบโตที่ดี
- ใช้ทำความสะอาดรถยนต์หรือพื้นบริเวณนอกอาคาร : อย่างที่ทราบกันดีว่าการล้างรถหรือการล้างพื้นบ้านหรืออาคารสำนักงาน ต้องใช้น้ำปริมาณมากในการทำความสะอาด การใช้น้ำเสียที่แยกออกมาแล้วจากกระบวนการทำ น้ำ RO ก็เป็นอีกทางที่หลีกเลี่ยงการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ได้
- นำไปเก็บในถังพักน้ำไว้สำหรับใช้อุปโภคในครั้งต่อไป : น้ำทิ้งที่ถูกคัดกรองออกจากระบบ RO สามารถนำมาเก็บไว้ที่ถังพักน้ำ หรือบางอุตสาหกรรมก็สามารถนำน้ำบางส่วนไปรีไซเคิลได้ โดยจะถูกนำส่งไปที่ Flow Meter เพื่อวัดปริมาณน้ำแล้วให้ปั๊มน้ำแรงดันสูงเป็นตัวส่งน้ำเหล่านี้ กลับสู่ไส้กรองเมมเบรน แต่ไม่ค่อยนิยมทำกัน เนื่องจากน้ำทิ้งที่ผ่านระบบ RO จะมีความกระด้างสูง จะส่งผลให้ไส้กรองเมมเบรน เสื่อมสภาพเร็ว
นอกจากการนำน้ำทิ้งที่คัดกรองแล้วจากกระบวนการผลิต น้ำ RO ไปใช้ประโยชน์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างๆ ก็มีกระบวนการในการบริหารจัดการน้ำในการทำธุรกิจ ให้สอดรับกับการรณรงค์เรื่องของการประหยัดทรัพยากรน้ำ ด้วยหลักการ 3R คือ การลดการใช้น้ำ (Reduce) การใช้น้ำซ้ำ (Reuse) และ การนำน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัดกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- การ Reduce ลดการใช้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม : โดยองค์กรธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรมต่างๆ กำหนดนโยบายการใช้น้ำอย่างประหยัด ทั้งการเลือกใช้ฝักบัวที่มีรูฝักที่เล็ก, การใช้ถุงน้ำมาใส่ไว้ในโถน้ำแบบชักโครก เพื่อลดการใช้น้ำ, ห้องน้ำควรติดตั้งโถปัสสวะแยกจากโถส้วมปกติ และการเลือกใช้สุขภัณฑ์ที่ช่วยประหยัดน้ำที่มีฉลากเขียว เป็นต้น นอกจากนั้นการแบ่งพื้นที่ย่อยและวิเคราะห์การใช้น้ำแต่ละพื้นที่ พร้อมกับการตรวจสอบการรั่วไหล ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการประหยัดทรัพยากรน้ำได้อย่างดีเยี่ยม
- การ Reuse การนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ซ้ำ : ซึ่งก็คือ 3 ข้อที่เราได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้นเรื่องการนำน้ำทิ้งที่คัดกรองแล้วจากกระบวนการผลิต น้ำ RO หรือรวมถึงน้ำที่ใช้แล้วในอุตสาหกรรมครัวเรือนต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น การนำไปรดน้ำต้นไม้, ซักผ้า หรือล้างทำความสะอาดพื้นที่ต่างๆ ภายในและภายนอกโรงงานอุตสาหกรรม
แต่อีกหนึ่งวิธีการที่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นิยมใช้กันมากที่สุด ก็คือ การเวียนใช้น้ำหล่อเย็นและน้ำอ่อนที่เหลือใช้ มาใช้ในหอหล่อเย็น (Cooling tower) เพื่อลดการใช้น้ําดิบที่ยังมีสิ่งปนเปื้อนอยู่ และนำมาบำบัดใหม่ด้วยระบบบําบัดน้ําเสียที่มีคุณภาพ เช่น การเติมสารเคมีหรือกระบวนการทางชีวภาพมาช่วยในการบำบัดน้ำ รวมถึงการติดตั้งระบบ น้ำ RO จนได้น้ำใหม่ที่สะอาดและสามารถนํามาใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัย
ตัวอย่างเช่น บริษัท IVL หรืออินโดรามา เวนเจอร์ส ผู้นำในอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก PET ผู้ผลิตสารตั้งต้น PIA และมีโรงงานผลิตสารตั้งต้น NDC แห่งเดียวในโลกมีกระบวนการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ 100% โดยการฟื้นฟูน้ำจากหอหล่อเย็นและใช้ประโยชน์จากน้ำฝนในช่วงฤดูฝน และบำบัดน้ำจากหอหล่อเย็นในระบบการจับตัว/ตกตะกอนจากนั้นจะใช้เครื่องกรองระบบ Reverse Osmosis ( น้ำ RO ) เพื่อกำจัดพลวงและเกลือฟอสฟอรัส จึงทำให้นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำได้ในหอหล่อเย็น ซึ่งลดการใช้น้ำดิบได้ 26,000 ลบ.ม ต่อปี - การ Recycle การนำน้ำมารีไซเคิลและกลับมาใช้ใหม่ : ในประเทศสิงคโปร์ มีโรงงานที่เรียกว่า NEWater ที่ผลิตน้ําประปาจากน้ำเสีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสาธารนูปโภคแห่งสิงคโปร์และกระทรวงสิ่งแวดลอมและทรัพยากรน้ำ โดย NEWater เป็นแหล่งผลิตน้ำสำหรับอุปโภคในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยด้วยการใช้เทคโนโลยีเมมเบรน 2 ชนิด ทั้ง Microfiltration และ Reverse osmosis ร่วมกับการใช้รังสี Untraviolet (UV) จึงทำให้ได้ น้ำ RO ที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค จากนั้นก็ยังมีการเติมสารเคมีเพื่อปรับค่า pH ของน้ําให้เหมาะสมต่อนำกลับมาใช้อีกครั้งในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ นั่นเอง
ส่วนที่ประเทศไทยเองก็มีตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำเสียด้วยการรีไซเคิล อย่างนิคมอุตสาหกรรมอมตะฯ ก็มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในกระบวนการผลิตน้ำประปา และการรีไซเคิลน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ภายในนิคมถึง 5 สถานี ซึ่งสามารถประหยัดหรือลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำได้ถึง 35-40% หรือเท่ากับการนำน้ำดิบ 1 ลูกบาศก์เมตร มาใช้ได้เท่ากับ 1.4 ลูกบาศก์เมตร และกำลังจะนำะบบการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพนี้ ไปใช้กับนิคมอุตสาหกรรมที่พัฒนาขึ้นในประเทศเวียดนาม พม่า และลาวต่อไป
ทั้งหมดนี้คือหลักการในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่ภาคอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง เพื่อเป้าหมายเดียวกัน ก็คือการดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรน้ำที่ถือเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ให้คงอยู่ในโลกของเราด้วยการใช้น้ำอย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยจะเห็นได้ว่าระบบกรอง น้ำ RO เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่มีส่วนช่วยให้การ Reuse และ Recycle สำเร็จสมบูรณ์ เพื่อผลิตน้ำที่สะอาดกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง
หากคุณกำลังมองหา น้ำ RO ไว้ใช้ในอุตสาหกรรมของคุณที่ใช้เครื่องจักรและสำหรับระบบหล่อเย็นและต้องการน้ำที่มีความสะอาดสูงในกระบวนการผลิต บริษัท อาร์ เอช เค กรุ๊ป จำกัด เรามีน้ำ RO คุณภาพสูง เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมของคุณ รวมถึงน้ำกลั่น (DI Water) และจำหน่ายสารเคมี ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภทที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
ติดต่อสอบถามข้อมูล น้ำ RO หรือสั่งซื้อสินค้า
https://www.rhkchemical.com/
โทร : 02-394-0222
Line id : @rhkgroup
อีเมล: rhkgroup@hotmail.com, mktg@rhkchemical.com