รู้หรือไม่? สารกันบูด ที่ไม่ได้มีประโยชน์แค่ใช้ใส่ในอาหาร

รู้หรือไม่? สารกันบูด ที่ไม่ได้มีประโยชน์แค่ใช้ใส่ในอาหาร

คุณสมบัติอะไรของ สารกันบูด ที่ทำให้นำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้

สารกันบูด หรือ (Preservatives) คือสารเคมีที่นิยมใช้เป็นวัตถุเจือปนในในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อยับยั้งและลดการเกิดเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารหรือเครื่องดื่มเน่าเสียและเสื่อมสภาพ จึงมีคุณสมบัติช่วยถนอมอาหารได้ ซึ่งความจริงแล้ววัตถุเจือปนอาหารชนิดนี้มีใช้กันอยู่หลายประเภท ดังนี้

  • กรดและเกลือบางชนิด : กรดเบนโซอิก, กรดซอร์บิกและกรดโพรพิโอนิกและเกลือกลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งเชื้อราและยีสต์ได้มากกว่าแบคทีเรีย ข้อดีคือมีความเป็นพิษต่ำ โดยร่างกายมนุษย์สามารถเปลี่ยนเป็นสารอื่นที่ไม่เป็นพิษและสามารถขับออกจากร่างกายได้ ส่วนใหญ่จะใช้ละลายในน้ำเพื่อเติมลงไปในอาหารและเครื่องดื่มที่มีค่า pH ประมาณ 4-6 เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม แยม ผักดองชนิดต่างๆ ขนมปัง เป็นต้น

  • พาราเบน (Parabens) : สารเคมีชนิดนี้ถือเป็น สารกันบูด ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งหรือทำลายเชื้อราและยีสต์ได้ดีกว่าแบคทีเรีย และนิยมใช้กันมากที่สุดในเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้, แยม, สารปรุงแต่งรสและขนมหวานต่างๆ โดยการบริโภคสารชนิดนี้ขึ้นไปร่างกายมนุษย์สามารถกำจัดสารพาราเบนนี้ออกได้

  • ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลไฟต์ (Sulfur dioxide sulfites อาจเขียนว่า Sulphites) : สารกันบูด ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับกรดซอร์บิกและกรดโพรพิโอนิก คือมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราและยีสต์ได้เฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่มีค่า pH เป็นด่างน้อยกว่า 4 นิยมใช้ในเครื่องดื่มประเภท ผลไม้อบแห้ง, ไวน์และน้ำผลไม้ต่างๆ ข้อเสียของสารชนิดนี้คือ ถึงแม้ว่าร่างกายของเราจะสามารถขับสารชนิดออกจากร่างกายได้ แต่หากมีการบริโภคมากเกินไปก็อาจจะไปลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกายลง อีกทั้งยังทำลายไทอามีนหรือวิตามินบี 1 ในอาหารอีกด้วย

สารกันบูด 3 ประเภทนี้ที่ถือว่าเป็นสารเคมีที่ใช้บริโภคได้อย่างปลอดภัยในปริมาณที่กำจัดแล้ว ก็ยังมีวัตถุเจือปนอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยยั้งยับเชื่อราจุลินทรีย์ได้แต่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ก็คือ ดินประสิว นิยมใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ซึ่งถ้าใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียนและท้องเสียได้ และนอกจากการใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ก็ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ ดังนี้

การใช้ สารกันบูด ในอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากอาหารและเครื่องดื่ม มีดังนี้

  • ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล : เพราะคุณสมบัติป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราได้ การใช้พาราเบนและฟอร์มา]ดีไฮด์จึงนิยมนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล เพราะพาราเบนสามารถซึมผ่านผิวหนังได้ แต่ถึงกระนั้น การใช้พาราเบนกับฟอร์มาลดีไฮด์ที่มากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพของผู้บริโภคได้

  • สารกันบูด ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมักถูกใช้เพื่อควบคุมการลดปริมาณเหงื่อ ความเปียกชื้นและป้องกันกลิ่นกายได้ อีกทั้งยังช่วยทำให้ผิวหนังรู้สึกสดชื่นและสะอาด จึงนิยมนำมาผสมในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผิวหนัง เช่น เจล, แป้ง, และสเปรย์ระงับกลิ่นกาย

  • มีรายงานการสำรวจจากที่ UC Berkeley พบพาราเบนซึ่งเป็นสารประกอบที่รบกวนต่อมไร้ท่ออย่างน้อย 1 ชนิดในผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล 34% เพียงแค่อ่านฉลากเท่านั้น พบพาราเบนสองหรือสามชนิดใน 3% ของผลิตภัณฑ์อื่นๆ ไม่ได้ระบุในฉลาก นอกจากนี้เรายังพบฟอร์มาลดีไฮด์ใน 3% ของผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลจากการอ่านฉลากที่ระบุไว้ในผลิตภัณฑ์ (ที่มา)

ทำไมเราถึงต้องใช้ สารกันบูด ในเครื่องสำอาง?

เพราะผิวหนังยังมีระดับ pH ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 4-6.5 ซึ่งหากการใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีความเป็นกรดด่างที่ไม่เหมาะสมกับสภาพผิวอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ เพราะจุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ง่ายในน้ำ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางส่วนใหญ่มีน้ำเป็นส่วนผสมที่เยอะที่สุด นอกจากนี้สารอาหาร วิตามิน และสารออกฤทธิ์หลายชนิดในเครื่องสำอางสามารถนำมาเป็นอาหารจุลินทรีย์ที่ดีเยี่ยม ดังนั้นการใช้ สารกันบูด ที่มีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้แล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของการรักษาระดับ pH ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสุขภาพผิวของเราไม่ให้เกิดการระคายเคืองได้ด้วย

เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่มี สารกันบูด ปลอดภัยต่อการใช้หรือไม่?

ใช่… เพราะ FDA ของสหรัฐอเมริกาออกมารับรองความปลอดภัยในการใช้งานตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว แต่ก็มีกฎหมายการติดฉลากที่กำหนดเพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคได้ทราบส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ และสามารถค้นหาส่วนผสมเครื่องสำอางเพื่อการพิจารณาเรื่องความปลอดภัยเพิ่มเติมได้

สารกันบูด เครื่องสำอางทั่วไปมีอะไรบ้าง?

  • อัลดีไฮด์ เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์, DMDM hydantoin, imidazolidinyl urea, diazolidinyl urea : ป้องกันแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด

  • ไกลคอลอีเทอร์ เช่น ฟีโนซีเอธานอล และคาปริลิลไกลคอล : ป้องกันแบคทีเรียบางชนิด

  • Isothiazolinones เช่น methylisothiazolinone: ป้องกันแบคทีเรียและเชื้อรา

  • กรดอินทรีย์ เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดลิวูลินิก กรดอะนิซิก : ป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด

  • พาราเบน เช่น เมทิลพาราเบน, เอทิลพาราเบน, โพรพิลพาราเบน, บิวทิลพาราเบน, ไอโซบิวทิลพาราเบน : ป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด

  • สารกันบูด ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ : เช่นการนำมาใช้ในเสื้อผ้าเพื่อเพื่อป้องกันการเจริญเจริญของแบคทีเรียและกลิ่นรบกวน

  • ในอุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้างและวัสดุกันความร้อน : ในวงการอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างบางชนิดให้มีการใช้สารกันบูดเพื่อป้องกันการเจริญเจริญของแบคทีเรียและป้องกันรังสีของแสงอัลตราไวโอเลตได้อีกด้วย

  • ในอุตสาหกรรมของเล่นเด็กและของตกแต่ง : สารกันบูด มักถูกนำมาใช้ในของเล่นและของตกแต่งบางชนิด เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและกลิ่นรบกวน หรือแม้กระทั่งสติกเกอร์ในสินค้าสำหรับเด็ก

  • ในอุตสาหกรรมผลิตยา : เพื่อช่วยในเรื่องความคงตัวของยา ทำให้มั่นใจได้ว่าสูตรยาที่ผลิตจะปลอดภัยจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และการย่อยสลายสารออกฤทธิ์ต่างๆ

นอกจากนั้น ในอุตสาหกรรมผลิตสี กาวและสารทำความสะอาดบางประเภทก็มีการใช้ สารกันบูด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ แต่ถึงกระนั้นเอง แม้สารเคมีชนิดนี้จะมีประโยชน์ในด้านการป้องกันแบคทีเรียและกลิ่นรบกวน แต่การนำมาใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน เช่น

  • กระบวนการผลิต : ในกระบวนการผลิตสารเคมีชนิดนี้ มีการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้ทรัพยากรน้ำที่ค่อนข้างมาก

  • การปนเปื้อนไปตามแหล่งน้ำ : สารกันบูด ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อาจจะถูกชะล้างจากร่างกายมนุษย์และไหลลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ ตามธรรมชาติ และอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำได้ เป็นต้น

ดังนั้น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่มีส่วนผสมของสารชนิดนี้ ผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเองก็ต้องพิจารณาถึงปริมาณที่มีความปลอดภัยต่อการใช้งานของตนเอง และลดสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน โดยการควบคุมปริมาณการใช้งาน สารกันบูด รวมถึงการเลือกใช้สารอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายกันแต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ซึ่งในปัจจุบันนี้หลายบริษัทและหลายสถาบันการวิจัยกำลังพยายามศึกษาและพัฒนาสารเคมีชนิดนี้ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้ในอนาคตต่อไป นั่นเอง

หากคุณกำลังมองหา สารกันบูด หรือเคมีภัณฑ์ชนิดอื่นๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมของคุณ บริษัท อาร์ เอช เค กรุ๊ป จำกัด นั้น มีเคมีภัณฑ์คุณภาพสูงที่ผลิตขึ้นตรงตามมาตรฐานเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมมากมายหลายประเภทที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศ, ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า และการให้บริการที่ตรงต่อเวลา


ติดต่อสอบถามข้อมูล กรดอะซิติก หรือสั่งซื้อสินค้า

https://www.rhkchemical.com/
โทร : 02-394-0222
Line id : @rhkgroup
อีเมล: rhkgroup@hotmail.com, mktg@rhkchemical.com