เจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับกรดฟอสฟอริก

เจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับกรดฟอสฟอริก

กรดฟอสฟอริก นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมใดบ้าง

ข้อมูลเจาะลึกกรดฟอสฟอริก

กรดฟอสฟอริก (Phosphoric Acid) จัดอยู่ในประเภทของกรดอ่อน เป็นหนึ่งในกรดแร่ที่สำคัญและมีประโยชน์มากที่สุดในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ใช้ในการผลิตปุ๋ย, อาหารสัตว์, เกลือฟอสเฟต, สบู่, ขี้ผึ้ง, ยาขัดเงา, ผงซักฟอก, สารควบคุมอัคคีภัย แก้วโอปอล รวมไปถึงการนำไปใช้ทำความสะอาดกระเบื้อง การติดเซรามิก ซีเมนต์ทางทันตกรรม การบำบัดน้ำ เป็นสารเติมแต่งน้ำมันเบนซินและในการจับตัวเป็นก้อนน้ำยาง นอกจากนี้ยังนำมาใช้ขจัดคราบสนิมที่รอยเชื่อมสแตนเลสได้อีกด้วย ฯลฯ

กรดฟอสฟอริก คืออะไร?

Phosphoric Acid เป็นกรดผสมอนินทรีย์ที่ได้มาจากแร่ฟอสฟอรัส บางครั้งถูกเรียกว่า กรดออร์โธฟอสฟอริก (Ortho Phosphoric Acid) และกรดเมตาฟอสฟอริก (Mata Phosphoric Acid) กรดนี้เป็นกรดที่ไม่เป็นพิษและอยู่ในรูปที่บริสุทธิ์จะเป็นของแข็งที่เป็นผลึกใส แต่ในรูปแบบที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า จึงมักนำมาใช้ในรูปของสารละลายในน้ำ (เกือบ 85%) มีสูตรทางเคมีคือ H3PO4 เป็นของเหลวเหนียว ไม่มีกลิ่น ไม่มีสีและไม่ระเหย มีจุดหลอมละลายที่ 42.35° C ใช้เพื่อทำให้อาหารและเครื่องดื่มเป็นกรด และทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นในการผลิตอนุพันธ์ฟอสเฟตหลายชนิด

กรดฟอสฟอริก ถูกผลิตขึ้นทางอุตสาหกรรมได้ 2 วิธีการ ดังนี้

  1. กระบวนการแบบเปียก : แร่ธาตุที่มีฟอสเฟต เช่น แคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทต์และฟลูออราพาไทต์ จะได้รับการบำบัดด้วยกรดซัลฟิวริก จนทำให้เกิดแคลเซียมซัลเฟต (ยิปซั่ม CaSO4) เป็นผลพลอยได้ ที่ถูกกำจัดออกเป็นฟอสโฟยิปซั่ม ก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (HF) จะถูกสตรีมเข้าไปในเครื่องฟอกแบบเปียก (น้ำ) เพื่อผลิตกรดไฮโดรฟลูออริก การกำจัดน้ำออกไปอีกจะทำให้กรดซุปเปอร์ฟอสฟอริกมีความเข้มข้นของ P2O5 สูงกว่า 70% (ซึ่งสอดคล้องกับ H3PO4 เกือบ 100%) และสามารถทำให้บริสุทธิ์ขึ้นได้ โดยการกำจัดสารประกอบของสารหนูและสิ่งเจือปนที่อาจเป็นพิษอื่นๆ

  2. กระบวนการแบบแห้ง : เป็นการผลิต กรดฟอสฟอริก แบบ Food Grade ขั้นตอนแรกนั้น แร่ฟอสเฟตจะถูกรีดิวซ์ด้วยโค้กในเตาอาร์คไฟฟ้าเพื่อให้เป็นธาตุฟอสฟอรัส แล้วเติมซิลิกาเข้าไปทำให้เกิดตะกรันแคลเซียมซิลิเกต ธาตุฟอสฟอรัสจะถูกกลั่นออกจากเตาแล้วเผาด้วยอากาศ เพื่อผลิตฟอสฟอรัสเพน ท็อกไซด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง ซึ่งละลายในน้ำเพื่อสร้าง Phosphoric Acid

การใช้งาน กรดฟอสฟอริก และคุณประโยชน์ของกรดชนิดนี้มีอะไรบ้าง

Phosphoric Acid ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในการผลิตปุ๋ย เพราะเกลือของกรดนี้ซึ่งเรียกว่าฟอสเฟต ส่วนใหญ่จะมีประโยชน์ในการนำมาใช้กับการเกษตร และของใช้ภายในบ้าน เช่น การผลิตผงซักฟอก สบู่ และอีกหลายอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้

  1. ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร : การใช้งานและคุณประโยชน์หลักของ กรดฟอสฟอริก ใช้ในการผลิตปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตเพื่อเป็นตัวปรับสภาพดิน นอกจากนั้นยังเป็นสารแต่งกลิ่นในอาหารสัตว์และสัตว์ปีกอีกด้วย
  2. ด้านทันตกรรม : ในทางทันตกรรมมักใช้ Phosphoric Acid เป็นสารประกอบทางเคมีเพื่อละลาย กัดกร่อนและใช้เป็นวัสดุในการอุดฟัน นอกจากนั้นยังพบได้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากอีกด้วย

  3. การบำบัดและป้องกันสนิม : ในอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กหรืออะลูมิเนียม จะใช้ กรดฟอสฟอริก ในการเคลือบแปลงฟอสเฟตช่วยในการต้านทานการกัดกร่อน เพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชันของเหล็ก นอกจากนั้นก็ยังใช้ในการรักษาสนิมและกำจัดสนิมออกจากชิ้นส่วนโลหะก่อนทาสี รวมถึงใช้ในการขัดเงาและชุบโลหะหรืออะลูมิเนียม เป็นต้น

  4. ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารและเครื่องดื่ม : Phosphoric Acid แบบ Food Grade มักถูกใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อทำให้อาหารและเครื่องดื่มเป็นกรด เพื่อสร้างให้เกิดรสชาติบางอย่าง เช่น ทำหน้าที่เป็นสารแต่งรสคล้ายผลไม้ในแยมและน้ำอัดลม บางครั้งเรียกว่าโซดาฟอสเฟตหรือฟอสเฟต

  5. ใช้เป็นสารกันบูดและฆ่าเชื้อในเบียร์และผลิตภัณฑ์จากนม : ในอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์และผลิตภัณฑ์จากนม ใช้ กรดฟอสฟอริก ในการฆ่าเชื้อและใส่เป็นสารกันบูดในผลิตภัณฑ์นม เช่น นม คอทเทจชีส และบัตเตอร์มิลค์ และอาหารแปรรูปอื่นๆ เช่น ซีเรียลบาร์ น้ำปรุงแต่ง เครื่องดื่มกาแฟบรรจุขวด รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูป

  6. ใช้ในการปรับหรือควบคุมระดับ pH ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว : Phosphoric Acid ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับหรือควบคุมระดับ pH ทั้งในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และเครื่องสำอางบางชนิด รวมถึงยาสีฟัน สบู่และผงซักฟอก เช่นกัน


กรดฟอสฟอริก ปลอดภัยหรือไม่?

แม้ว่ากรดประเภทนี้จะจัดอยู่ในประเภทที่เป็นกรดอ่อน แต่ก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือแสบร้อนในผิวหนังได้ หากสัมผัสกับสารละลายเข้มข้นอาจทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรง หรือถ้ากระเด็นตาอาจทำให้เกิดอาการแดง ปวด น้ำตาไหล เปลือกตากระตุก ตาพร่ามัว และอาจรุนแรงได้ถึงขั้นตาบอดถาวรได้เลย

การสูดละอองหรือกลืนกินผงเข้าไป จะมีกัดกร่อนเช่นเดียวกับกรดอื่นๆ คือทำให้เกิดรู้สึกแสบร้อนมีอาการระคายเคืองหลอดลม เจ็บคอ ไอ หายใจลำบาก ปวดท้องอย่างรุนแรง กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียเป็นเลือด หายใจลำบาก ชัก และเมื่อระดับ กรดฟอสฟอริก ที่สูงขึ้น อาจทำให้เกิดการสะสมของของเหลวในปอด (อาการบวมน้ำที่ปอด) ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตได้ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับสารเคมีชนิดนี้ควรใส่อุปกรณ์นิรภัย ทั้งแว่นตาและถุงมือที่สามารถป้องกันสารเคมีได้ เพราะการสัมผัสกับกรดฟอสฟอริกซ้ำๆ อาจทำให้เกิดหลอดลมอักเสบ ร่วมกับอาการไอ เสมหะ และ/หรือหายใจลำบาก การที่ผิวหนังสัมผัสกับของเหลวเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อการสัมผัสกรดฟอสฟอริก ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรังหรือโรคผิวหนัง เป็นต้น

แม้กระทั่ง กรดฟอสฟอริก แบบ Food Grade ที่ปลอดภัยมากพอที่จะสามารถบริโภคได้ และเจือปนอยู่ในน้ำอัดลมหรืออาหารสำเร็จรูปต่างๆ หากบริโภคมากจนเกินไปหรือรับประทานเป็นประจำในระยะยาว อาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ระบุว่า Phosphoric Acid โดยทั่วไปถือว่าปลอดภัย (GRAS) อย่างไรก็ตาม ปริมาณฟอสฟอรัสที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต และกระดูกของคุณได้

เพราะ กรดฟอสฟอริก หรือเกลือฟอสเฟต สามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติในอาหาร เช่น ถั่ว เนื้อสัตว์ ไก่ ไข่ และปลา และร่างกายของคุณต้องการฟอสฟอรัสประมาณ 700 มก. ต่อวัน เมื่อคุณบริโภค Phosphoric Acid ที่มักถูกใช้เป็นสารเติมแต่งในอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มอัดลมต่างๆ เข้าไปเพิ่มซึ่งอาจทำให้ปริมาณฟอสฟอรัสในร่างกายมากเกินไป จนอาจเกิดอันตรายกับสุขภาพของคุณได้ นั่นเอง

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลแบบเจาะลึกเกี่ยวกับ กรดฟอสฟอริก ที่ RHK Group ได้นำมาเสนอในบทความให้คุณได้ทราบ ทั้งคุณประโยชน์ที่ถูกนำไปใช้ผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย และหากคุณกำลังมองสารเคมีที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมหรือห้องแล็ป แล้วล่ะก็ บริษัท อาร์ เอช เค กรุ๊ป จำกัด ราเป็นผู้ผลิตน้ำกลั่น (DI Water) และจำหน่ายสารเคมี เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศ, ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า และการให้บริการที่ตรงต่อเวลา


ติดต่อสอบถามข้อมูล กรดฟอสฟอริก หรือสั่งซื้อสินค้า

https://www.rhkchemical.com/
โทร : 02-394-0222
Line id : @rhkgroup
อีเมล: rhkgroup@hotmail.com, mktg@rhkchemical.com