อันตรายของกรดซัลฟิวริก

อันตรายของกรดซัลฟิวริก

กรดซัลฟิวริกแค่ดมก็ออกฤทธิ์ หากโดนร่างกายจะเป็นอย่างไร พร้อมคลายความสงสัยใช่กรดกำมะถันหรือไม่

หากพูดถึงสารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ถึงเพียงแค่ สูดดมไอควัน เข้าไป คงต้องยกให้กรดซัลฟิวริก (H2SO4) แต่ใครบ้างที่ต้องใช้สารตัวนี้ ก่อนอื่นหลายคนอาจจะยังไม่คุ้นชินกับ กรดซัลฟิวริก ซึ่งชื่อเล่นอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะคุณเคยคือ กรดกำมะถัน กรดซัลฟิวริก คือสารเคมี มีคุณสมบัติละลายได้ในน้ำ สามารถใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมถือว่าเป็นส่วนผสมหลัก ๆ ที่ทำช่วยเร่งปฏิกิริยาได้ดี มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่หากนำกรดซัลฟิวริกเข้นข้น 98% ผสมกับน้ำเพื่อเจือจาง จะก่อให้เกิดความร้อนสูง บ้างครั้งอุณหภูมิ อาจจะสูงถึง 130-180 องศาเซลเซียส(ขึ้นกับความเข้นข้น) ฉะนั้นผู้ที่ทำงานด้านนี้ต้องมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ


ประโยชน์ของกรดกำมะถันใช้ในการผลิตปุ๋ย การผลิตแร่ การสังเคราะห์เคมี การช่วยบำบัดน้ำเสียที่มีค่าความเป็นด่างสูง ใช้เป็นสารละลายอิเล็กทรอไลต์ในแบตเตอรี่และกระบวนการกลั่นน้ำมัน นำมาใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์ (ปกติแบตเตอรี่รถยนต์ ใช้กรดซัลฟิวริกที่ความเข้นข้น 33%) ใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อมและเม็ดสี และสามารถนำมาใช้ในการปรับค่า ความเป็นกรด - ด่าง ในน้ำทิ้งสำหรับอุตสาหกรรมก็คือการบำบัดน้ำเสียนั่นเอง เพราะละลายน้ำได้ดี หรือบางอุตสาหกรรมก็นำเอามาเป็นสารกัดแร่ สังกะสี ทองคำ หรือนำไปขัดทำความสะอาดชิ้นงานก็มี ประโยชน์อีกอย่างที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ กรดซัลฟิวริก สามารถนำมาใช้ในการผลิตยางพารา ทดแทนกรดฟอมิกได้อีกด้วย


ซึ่งตามกฎหมายแล้ว กรดซัลฟิวริก เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และต้องมีความเข้มข้นของสารมากกว่า 50% ขึ้นไปถึงจะเป็นวัตถุอันตราย ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2553 การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองต้องได้รับการอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม แต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียน


อันตรายของกรดซัลฟิวริก

  • ออกฤทธิ์ระคายเคือง นี่เป็นอันตรายระดับเบื้องต้น เมื่ออวัยวะหรือผิวได้สัมผัสกับกรดซัลฟิวริก เช่น ระคายเคืองผิวหนัง การสัมผัสหากกระเด็นเข้าดวงตา จะสร้างความเสียหายให้กับกระจกตา จนกลายเป็นแผลไหม้ถึงขั้นตาบอด เยื่อบุตาอักเสบ หรือบางรายอาจจะเป็นถึงขั้นรุนแรงขึ้นอยู่กับระบบในร่างกายของแต่ละบุคคล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกันตัวเองให้ดีหากต้องเข้าใกล้หรือใช้งานกรดซัลฟิวริก
  • ตัวแปรของสารก่อมะเร็ง พิษของกรดซัลฟิวริก เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีการสูดดม สัมผัสกับไอของสารชนิดนี้ จะมีอัตราส่งผลเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินหายใจ กล่องเสียง โพรงจมูก และปอด จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอย่างดีเยี่ยมให้กับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ใกล้กับสารตัวนี้ เพื่อไม่ให้สัมผัสละอองหรือควันไอกรด
  • มีผลต่อความผิดปกติในเม็ดเลือด หากได้รับกรดซัลฟิวริกผ่านการกินจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะการเป็นกรด ซึ่งหนึ่งในคุณสมบัติของมันก็คือการดูดน้ำ อาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำและเม็ดเลือดไม่แข็งแรง
  • เกิดอาการไหม้ในร่างกายหากสัมผัสในปริมาณมาก เช่น การกินเข้าไปจะเกิดอาการไหม้ในลำคอ ผลที่ตามมา คลื่นไส้อาเจียน การไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ปัสสาวะน้อย หายใจติดขัด ไปจนถึงอาการช็อกและเสียชีวิต
  • ผลต่อระบบประสาท อันตรายในข้อนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อสะสมในระยะเวลานาน ผู้ที่มีความเสี่ยงคือ ผู้ที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับกรดซัลฟิวริก ในส่วนของอาการที่แสดงคือ ร่างกายอ่อนเพลีย การตัดสินใจช้าลังเลไม่เด็ดขาด หากเป็นคนที่เด็ดขาด ว่องไวอยู่แล้ว อาจจะใช้ลักษณะการสังเกตด้วยวิธีนี้ได้
  • มีผลต่อการพัฒนาของตัวอ่อน มีการทดลองวิทยาศาสตร์กับหนูและกระต่ายพบว่า หากสูดดมเข้าไปในปริมาณ 20 มิลลิกรัม ระหว่างการตั้งท้องจะทำให้กระดูกของตัวอ่อนมีความผิดปกติ
  • เป็นส่วนผสมเสี่ยงเกิดระเบิดได้ ซึ่งแน่นอนว่า ขึ้นชื่อว่าเป็นสารเคมีหากเกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น กรดซัลฟิวริกไม่ลุกไหม้ติดไฟ แต่จะกลายเป็นแก๊สหรือไอระเหยที่อันตรายมาก ๆ หากผสมกับโลหะ ก่อให้เกิดไฮโดรเจนและระเบิดขึ้นได้

 

  tel:02-394-0222


หากได้รับกรดซัลฟิวริกต่อร่างกายหรือเกิดเหตุฉุกเฉินควรปฐมพยาบาลอย่างไร

  1. นำผู้ป่วยไปในที่มีอากาศถ่ายเท และนำเสื้อผ้าที่เปื้อนกรดซัลฟิวริกออกทันที
  2. หากได้รับการสัมผัสเล็กน้อยให้รีบล้างออก โดยใช้น้ำไหลผ่านประมาณ 15 นาที หากสัมผัสปริมาณมาก ให้รีบหาผ้าสะอาดเช็คหรือซับกรดออกก่อน แล้วจึงใช้น้ำปริมาณมากไหลผ่านประมาณ 15 นาที ถ้าหากเข้าตาก็ให้รีบล้างและพบจักษุแพทย์ทันที
  3. หากสัมผัสโดยการกินเข้าไป ห้ามผายปอด ควรให้ดื่มน้ำในปริมาณมาก ๆ ห้ามทำให้เกิดอาการอาเจียน เพราะจะเป็นกรดอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
  4. พบแพทย์ทันที หากพบว่าผู้ป่วยหมดสติจากการได้รับกรดซัลฟิวริก

 

ดังนั้นเมื่อคุณทราบถึงอันตรายของกรดซัลฟิวริก หรือกรดกำมะถันขนาดนี้แล้ว คุณอาจจะต้องเพิ่มมาตรการระวังและป้องกันไม่ให้ร่างกายของเราไปสัมผัสกับตัวสารเคมีโดยตรงเนื่องจากมันออกฤทธิ์ถึงตาย และแน่นอนว่าตอนนี้คุณอาจจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาแนะนำในการใช้สารเคมีตัวนี้ บริษัทอาร์ เอช เค กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้ผลิตน้ำกลั่น (DI Water) และจำหน่ายสารเคมี เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม หลากหลายประเภท ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน รวมถึงเรื่องการบริการหลักการขาย และการที่คุณเลือกไว้ใจเรา ให้เราช่วยดูแลคุณมั่นใจได้เลยว่าจะปลอดภัยทั้งกระบวนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมของคุณ


ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า

https://www.rhkchemical.com/
โทร : 02-394-0222
Line id : @rhkgroup
อีเมล: rhkgroup@hotmail.com, mktg@rhkchemical.com