สารเคมีต่างๆ ใช้ในอุตสาหกรรมไทย

สารเคมีต่างๆ ใช้ในอุตสาหกรรมไทย

ประโยชน์ของสารเคมีต่างๆ ที่มีบทบาทในหลายอุตสาหกรรม

แม้คำว่าสารเคมีจะดูเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับมนุษย์ แต่ความจริงแล้วสารเคมีนั้นมีความสำคัญและมีประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่การอุปโภคและบริโภค ซึ่งความจริงแล้วสารเคมีที่เราใช้อยู่ในอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้น มีทั้งแบบสังเคราะห์ขึ้นมาและแบบที่สกัดจากธรรมชาติ ซึ่งมีความปลอดภัยมากพอสำหรับใช้เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถบริโภคได้


ในบทความนี้ RHK Group จะขอนำเสนอสารเคมีต่างๆ ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมไทย ดังต่อไปนี้

สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม :

  • สารส้ม (Alum) คือเกลือเชิงซ้อนของสารประกอบที่มี ธาตุอะลูมิเนียม และซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก โดยในปัจจุบันนั้นมีสามารถแบ่งออกได้ 6 ประเภทได้แก่ สารส้มโพแทชเซียม, โซเดียมอะลัม, แอมโมเนียมอะลัม, สารส้มในโครเมียม, Selenate Alums และอลูมิเนียมซัลเฟต โดยประเภทที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารคือ สารส้มโพแทชเซียม และโซเดียมอะลัม เพื่อนำมาใช้เป็นผงฟูในการทำขนมปังและเป็นกรดในอาหาร นอกจากนั้นยังนิยมใช้กับการดองผักเพื่อให้ผักดองมีความกรอบมากขึ้น นอกเหนือจากนั้น สารส้มยังสามารถนำมาใช้กับอุตสาหกรรม ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวและขนมจีน ได้อีกด้วย

  • กรดเกลือ นิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้ ในกระบวนการไฮโดรไลซีสแป้ง เพื่อให้เกิดน้ำตาลกลูโคส และใช้ในกระบวนการไฮโดรไลซีสโปรตีน เพื่อให้ได้กรดอะมิโนชนิดต่างๆ เพื่อนำไปผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูป

  • โซเดียมคาร์บอเนต โซดาแอช หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งก็คือ โซดาซักผ้า เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ โดยนำไปใช้ในอุตสาหกรรมด้านอาหาร เพื่อใช้เป็นสารแต่งรสชาติ, สารช่วยในกระบวนการผลิตอาหาร, เป็นสารแต่งรสชาติ และลดความเป็นกรดในน้ำซุปได้ เป็นต้น

  • กรดซิตริก หรือที่เรียกว่ากรดมะนาวนั้น มีรสเปรี้ยวจึงนิยมนำมาใช้แต่งกลิ่นและรส เพื่อให้เกิดรสเปรี้ยวในอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหรือลูกอม หรือใช้ใช้ทำน้ำมะนาวเทียม นอกจากนั้นยังนำมาใช้เป็นสารกันหืนและสารกันเสียได้อีกด้วย เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้อาหารและเครื่องดื่มคงสภาพ ไม่เน่าเสีย จึงถูกนำใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องและอาหารแช่แข็ง และผลิตลูกอม เป็นต้น

  • คลอรีน ใช้สำหรับเป็นสารฆ่าเชื้อที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ ราและจุลินทรีย์ รวมถึงใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและจุลินทรีย์ในน้ำดื่ม ได้อีกด้วย

  • เกลือล้างเรซิน หรือโซเดียมคลอไรด์ เป็นเกลือบริสุทธิ์ 97.5%, 99.9% หรือสามารถเรียกได้ว่า เกลือสินเธาว์ มีลักษณะเป็นสีขาวละเอียด นิยมใช้ในการล้างสารกรอง ล้างเรซิน ในโรงงานเครื่องดื่ม, โรงงานสุรา, เบียร์, ไวน์, โรงงานน้ำตาล และโรงงานผลิตน้ำมันพืช


สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง :

  • น้ำกลั่น สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ Distilled Water เป็นน้ำที่กลั่นจากกระบวนการต้มจนเกิดการควบแน่นของไอน้ำ ซึ่งมีการปนเปื้อนแร่ธาตุน้อยแต่ไม่ใช่แบบ 100% เพราะจะไม่สามารถกำจัดแอมโมเนียหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ซึ่งจะไม่นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง โดยจะนิยมใช้ น้ำกลั่น อีกประเภทหนึ่งคือ Deionized Water หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆ ไปว่านํ้า DI เป็นนํ้าที่ผ่านการกรองไอออน โดยใช้เรซิ่นเป็นตัวกรองจึงทำให้นํ้าที่มีความบริสุทธิ์สูงอย่างแท้จริง จึงนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบและตัวทำละลายในเครื่องสำอาง

  • สารส้ม ใช้เป็นส่วนประกอบหรือสารระงับกลิ่นตัวได้ทุกส่วนของร่างกายตามที่ต้องการ โดยเฉพาะที่ใต้วงแขนหรือเท้า สามารถระงับ กลิ่นได้ นานถึง 24 ชม. หรือใช้ผสมเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงสำหรับผู้ชายหลังโกนหนวด

  • กรดซิตริก กรดชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มของกรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids) หรือที่เรียกว่า AHA ที่ช่วยลอกเซลล์ผิวที่หมองคล้ำ จึงนิยมนำมาผสมในเครื่องสำอางหรือสกินแคร์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่างใส และปรับสีผิวให้สม่ำเสมอกัน อีกทั้งในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหลายชนิด ก็ใช้ กรดซิตริก เป็นส่วนผสมเพื่อปรับสมดุลของค่า pH ช่วยลดปัญหาสิวอุดตัน ช่วยให้ผิวสะอาด อ่อนนุ่ม นอกจากนั้น Citric acid หรือกรดมะนาว นี้ยังช่วยให้เครื่องสำอางติดทนนาน จึงนำมาใส่ใน ลิปสติก สเปรย์ฉีดผม และผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย


สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด :

  • น้ำกลั่น เพราะ Deionized Water เป็นน้ำที่มีค่าความบริสุทธิ์สูง จึงเหมาะสำหรับใช้ทำความสะอาดเครื่องจักรภายในโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องแล็บ รวมถึงทำความสะอาดกระจกและพรม โดยไม่ทิ้งคราบได้อีกด้วย

  • โซดาไฟ หรือ Caustic soda เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ชื่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นของแข็งสีขาว มีลักษณะเป็นเกล็ดหรือเม็ดคล้ายทรายหรือผงขุ่นๆ คุณสมบัติเป็นด่างละมีฤทธิ์กัดกร่อน ละลายน้ำได้ดีและดูดความชื้นดีมาก จึงนิยมนำมาใช้ผลิตสบู่, ผลิตภัณฑ์ซักฟอก หรือเคมีภัณฑ์ทำความสะอาดในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อช่วยปรับสภาพกรดไขมันที่เป็นสารตั้งต้น ในการผลิตเคมีภัณฑ์เหล่านี้ให้มีสภาพเป็นกลางก่อนนั่นเอง

  • กรดเกลือ ใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเช่น ใช้กัดกร่อนสนิมเหล็ก ในอุตสาหกรรมชุดเคลือบผิวโลหะ หรือนำไปใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ รวมถึงนิยมนำไปผสมกับน้ำในสระว่ายน้ำเพื่อให้น้ำสะอาดปรับสภาพน้ำให้เป็นกลาง เนื่องจากกรดเกลือมีส่วนช่วยลดความเป็นด่างของน้ำได้

  • กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) หรือที่มักได้ยินกันในชื่อว่า กรดกำมะถัน เป็นสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรดแก่ ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ละลายในน้ำได้ นิยมนำมาใช้ทำความสะอาดหรือเป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาดในห้องปฏิบัติการเนื่องจากกรดซัลฟูริกจัดเป็นกรดแก่จึงมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนโลหะต่างๆ ได้ดี

  • โซเดียมคาร์บอเนต ด้วยคุณสมบัติที่ทำให้น้ำอ่อนตัว จึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาซักผ้าและสบู่ ไปจนถึงการนำไปใช้ในการปรับสภาพความเป็นกรดด่างของน้ำ

  • กรดซิตริก ในการผลิตน้ำยาซักผ้าและน้ำยาปรับผ้านุ่ม นิยมนำกรดมะนาวหรือกรด Citric acid นี้มาเป็นสารที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสหลายชนิด และยังช่วยขจัดคราบและกลิ่นได้ นอกจากนั้นยังใช้ผสมเจลทำความสะอาดมือ และเป็นสารทางเลือกที่ดีกว่าการใช้สารฟอกขาวและคลอรีนในการผลิตผงซักฟอกและน้ำยาล้างจานอีกด้วย

  • กรดไนตริก (Nitric acid) หรือเรียกชื่อว่า กรดดินประสิว เป็นกรดที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ดี จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากในอุตสาหกรรมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ เพื่อใช้เป็นสารเร่งปฏิกิริยาและใช้เป็นตัวทำละลาย

  • คลอรีน เป็นสารที่มีมีปลอดภัยสูงและยังสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนิยมนำมาใช้ผสมสระว่ายน้ำ เพื่อทำให้น้ำใสสะอาดปลอดเชื้อ และสามารถสลายตัวได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้คุณสมบัติคลอรีน ยังช่วยฟอกสีผ้าให้ขาวได้อีกด้วย


สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ :

  • สารส้ม ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้น มักจะใช้อยู่ 2 ประเภทคือ สารส้มโพแทสเซียม หรือTAWAS ที่เป็นผนึกใสไม่มีสี และสารส้มอลูมิเนียมซัลเฟต ที่มีลักษณะเป็นผงก้อนสีขาว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ฟอกสี ย้อมสีเสื้อ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอได้เพราะเป็นสารประกอบที่มีไอออนของอะลูมิเนียม สามารถเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับสูตรโครงสร้างทางเคมีของสีและเส้นใยของพืช ทำให้สีติดเส้นใยได้ดีขึ้น สีจึงเข้มขึ้น นอกจากนั้นยังใช้เป็นสารประกอบการรักษาสิ่งทอทนไฟได้อีกด้วย

  • โซดาไฟ ใช้ในกระบวนการผลิตเส้นใยเรยอนและสิ่งทอ เพื่อปรับสภาพเส้นใยของสิ่งทอต่างๆ รวมถึงการฟอกย้อมและล้างสีไหม โดยเฉพาะขั้นตอนการลอกกาวไหมที่ต้องต้มละลายกาวไหมด้วยโซดาไฟเพื่อฟอกไหม ซึ่งบางท้องถิ่นเรียกโซดาไฟว่า “ผงมัน” เรามักใช้โซดาไฟเพื่อปรับสภาพเส้นใยของสิ่งทอต่างๆ ทำให้เส้นใยมันวาว อ่อนนุ่ม และสามารถถักทอได้ง่ายขึ้น

  • กรดซัลฟิวริก ใช้ในกระบวนการฟอกและย้อมสี รวมถึงกระบวนการผลิตเส้นใยในอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างๆ และอุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นต้น

  • โซเดียมคาร์บอเนต ใช้เป็นสารในกระบวนการย้อมผ้า รวมถึงใช้ในการฟอกผ้าฝ้ายและผ้าลินิน


สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร :

  • กรดซัลฟิวริก เป็นหนึ่งในสารเคมีพื้นฐานในการผลิตปุ๋ยยูเรีย รวมถึงสามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียได้อีกด้วย
  • กรดซิตริก ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อราในพืช อีกทั้งยังช่วยกำจัดสารพิษออกจากดินที่เป็นมลพิษได้อย่างปลอดภัย
  • กรดไนตริก ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อ และป้องกันเชื้อราในผลผลิตทางการเกษตร

 

สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ :

  • กรดเกลือ สามารถนำไปใช้ในกระบวนการเตรียมสารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต PVC และคลอโรพรีนสำหรับนำไปผลิตยางรถยนต์
  • กรดซัลฟิวริก ในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ทั่วไป โดยทั่งไปจะให้ที่ความเข้นข้น 33%-50%
  • เกลือล้างเรซิน ใช้ในการล้างสารกรองโรงงานยางรถยนต์, โรงงานผลิตอิเล็กทรอนิกส์และตลับลูกปืน


สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตเคมี :

  • สารส้ม ใช้เป็นสารดับกลิ่น และสีในปิโตรเลี่ยมรีไฟนิ่ง
  • กรดเกลือ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ เช่น ในกระบวนการเตรียมสารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต PVC และการผลิตพลาสติกรูปแบบต่าง ๆ
  • กรดซัลฟิวริก ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการผลิตปิโตรเคมีและพลาสติกต่างๆ
  • โซเดียมคาร์บอเนต ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการสำหรับเปลี่ยนถ่านหินให้เป็นเชื้อเพลิง และในกระบวนการการกลั่นปิโตรเลียม
  • คลอรีน ใช้ทำปฏิกิริยาออกซิเดชันและทำปฏิกิริยาแทนที่ไฮโดรเจน ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์, ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและพลาสติก

 

สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมยาและอาหารเสริม :

  • น้ำกลั่น เพราะน้ำ DI หรือ Deionized Water นั้นผ่านกระบวนการที่ทำให้มีความบริสุทธิ์มาก โดยผ่าน Ion Exchangeเพื่อจับทั้งไอออนบวกและลบออกจากนํ้า จึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องมีการใช้นํ้าในกระบวนการผลิตที่มีความสะอาดสูงมาก อย่าง อุตสาหกรรมยาและอาหารเสริม หรือใช้ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ต่างๆ โดยน้ำกลั่น DI ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตนั่นเอง

  • สารส้ม ใช้เป็นส่วนผสมในการทำยาเพื่อสมานบาดแผลที่เกิดจากมีดโกนบาดหรือบาดแผลเล็กน้อย เพราะมีคุณสมบัติช่วยห้ามเลือดได้ หรือผสมเป็นยาทารักษาและป้องกันส้นเท้าแตก นอกจากนั้นยังเป็นส่วนผสมของยาทาแก้คันตามผิวหนังเมื่อถูกยุงกัดหรือคันจากสาเหตุอื่น

  • กรดเกลือ นำใช้ในการผลิตอาหารเสริม โดยกระบวนการไฮโดรไลซีสโปรตีน เพื่อให้ได้กรดอะมิโนชนิดต่างๆ เพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริมบางชนิด นอกจากนั้นยังนำไปใช้ทางการแพทย์สำหรับการรักษาเมตฟอร์มินจากโรคสมองหรือโรคตับแข็ง และใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านเชื้อจุลชีพในทางการแพทย์

  • กรดซิตริก เพราะกรดชนิดนี้มีรสเปรี้ยว ในการผลิตเกลือแร่จึงนิยมนำมาปรุงแต่งรสชาติส้มหรือมะนาว อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ทำหน้าที่ให้ควบคุมความเป็นกรดด่างในยา ช่วยให้ยากระจายตัวได้ดี จึงนิยมนำมาผลิตยาเม็ดฟู่ละลายน้ำ นอกจากนี้ยังนำมาใช้เป็นสารช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในเลือดต้านการแข็งตัวของเลือดสำหรับการเก็บเลือดในโรงพยาบาล และเป็นส่วนผสมในครีมที่ช่วยกำจัดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้


อุตสาหกรรมกระดาษ :

  • สารส้ม ใช้ควบคุมค่า pH ในอุตสาหกรรมกระดาษ
  • โซดาไฟ สามารถใช้สำหรับฟอกขาวเยื่อกระดาษได้ ในการผลิตเยื่อกระดาษ โดยใช้งานร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งทำให้เส้นใยกระดาษขาวสะอาดโดยไม่ทำลายสภาพของเยื่อกระดาษ
  • โซเดียมคาร์บอเนต ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตกระดาษ

 

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องดับ : 

  • โซดาไฟ ช่างเจียระไนพลอย ก็ใช้ในขั้นตอนล้างเม็ดพลอยที่เจียระไนเสร็จแล้วอีกด้วย
  • กรดเกลือ นิยมใช้ในกระบวนการสกัดแร่ทองคำ ในเหมืองทอง, ดีบุก สังกะสี และยูเรเนียม เป็นต้น
  • กรดซัลฟิวริก ใช้สำหรับการสกัดแร่ทองคำ
  • กรดไนตริก ใช้ในการการกลั่นโลหะมีค่าสำหรับอุตสาหกรรมอัญมณี

 

ทั้งหมดนี้คือประโยชน์มากมายของสารเคมีต่างๆ ที่มีบทบาทในหลายอุตสาหกรรมของประเทศไทย และหากคุณกำลังมองหาน้ำกลั่น, กรดหรือสารเคมีที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมหรือห้องแล็ป เราเป็นผู้ผลิตน้ำกลั่น (DI Water) และจำหน่ายสารเคมี เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศ, ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า และการให้บริการที่ตรงต่อเวลา


ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า

https://www.rhkchemical.com/
โทร : 02-394-0222
Line id : @rhkgroup
อีเมล: rhkgroup@hotmail.com, mktg@rhkchemical.com